วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แผนภูมิ


แผนภูมิ  เป็นทัศน์วัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวต่างๆ   โดยอาศัยเส้น ของตัวอักษร และภาพลายเส้น หรือภาพโครงร่าง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในเรื่องราวและแผนภูมิแต่ละชนิดมีรูปแบบ และโครงสร้างที่แตกต่างกัน และมีประโยชน์ต่อการใช้สอยแตกต่างกัน

ประเภทของแผนภูมิ  มีดังนี้


1. แผนภูมิคอลัมน์ 


แผนภูมิคอลัมน์จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตลอดช่วงเวลาหนึ่ง หรือแสดงการเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ แผนภูมิคอลัมน์จะมีแผนภูมิย่อยชนิดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
แผนภูมิคอลัมน์แบบเป็นกลุ่ม     แผนภูมิชนิดนี้จะทำหน้าที่เปรียบเทียบค่าที่อยู่ในหมวดหมู่ต่าง ๆ และยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับลักษณะพิเศษเสมือน มิติ เช่นที่แสดงในแผนภูมิต่อไปนี้ หมวดหมู่ต่าง ๆ จะถูกจัดเรียงตามแนวนอน และค่าจะอยู่ในแนวตั้ง เพื่อเน้นถึงความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา

หนึ่ง ๆ


แผนภูมิคอลัมน์แบบเป็นกลุ่ม


  
แผนภูมิคอลัมน์ มิติ     แผนภูมิชนิดจะทำหน้าที่เปรียบเทียบ จุดของข้อมูลตามแกนสองแกน ตัวอย่างเช่น ในแผนภูมิแบบ มิติต่อไปนี้ คุณจะสามารถเปรียบเทียบยอดขายในสี่ไตรมาสของยุโรป กับยอดขายของอีกสองแผนก



แผนภูมิคอลัมน์ มิติ




2.แผนภูมิแท่ง
แผนภูมิแท่งจะทำหน้าที่เปรียบเทียบค่าต่าง ๆ ในหลาย ๆ ค่า แผนภูมิแท่งมีแผนภูมิย่อยในชนิดต่าง ๆ 
มีดังต่อไปนี้
       แผนภูมิแท่งแบบเป็นกลุ่ม     แผนภูมิชนิดนี้จะเปรียบเทียบค่าในข้อมูลทั้งหมดที่มี ผู้ใช้สามารถใช้ร่วมกับแผนภูมิรูปลักษณะพิเศษเสมือน มิติ ในแผนภูมิต่อไปนี้ ข้อมูลจะถูกจัดเรียงตามแนวตั้ง และค่าจะอยู่ในแนวนอน เพื่อเน้นหนักที่การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ


แผนภูมิแท่งแบบเป็นกลุ่ม





      - แผนภูมิแท่งแบบกองซ้อน      แผนภูมิชนิดนี้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลหนึ่งกับข้อมูลทั้งหมด       และสามารถนำมาใช้ร่วมกับลักษณะพิเศษเสมือน มิติ



แผนภูมิแท่งแบบกองซ้อน






3. แผนภูมิเส้น
แผนภูมิเส้นจะแสดงแนวโน้มของข้อมูล ณ ช่วงเวลาที่เท่า ๆ กัน

 แผนภูมิเส้น     แผนภูมิชนิดนี้จะแสดงแนวโน้มสำหรับช่วงเวลาหนึ่งหรือของข้อมูลชุดหนึ่ง ผู้ใช้สามารถใช้แผนภูมินี้ร่วมกับมาร์กเกอร์ที่แสดงผลที่ค่าของข้อมูลแต่ละค่า



แผนภูมิเส้น





4. แผนภูมิวงกลม
       แผนภูมิวงกลมจะแสดงขนาดของข้อมูลที่สร้างขึ้นเป็น ชุดของข้อมูล โดยแบ่งเป็นสัดส่วนตามผลรวมของข้อมูล แผนภูมินี้จะแสดงเฉพาะชุดข้อมูลชุดหนึ่ง และถือว่ามีประโยชน์มากเมื่อคุณต้องการเน้นที่องค์ประกอบเด่น ๆ ที่อยู่ในข้อมูล แผนภูมิวงกลมมีแผนภูมิย่อยดังต่อไปนี้


แผนภูมิวงกลม






 - แผนภูมิวงกลมแบบแยกตัว     แผนภูมิชนิดนี้จะแสดงการกระจายของค่าแต่ละค่าต่อผลรวม พร้อม ๆ กับเน้นที่ค่าใดค่าหนึ่ง ผู้ใช้สามารถใช้แผนภูมินี้ร่วมกับลักษณะพิเศษเสมือน มิติ

แผนภูมิวงกลมแบบแยกตัว






5. แผนภูมิแบบอธิบายภาพ  (Illustrative Charts)
       ใช้แสดงส่วนต่างๆ ของภาพหรือบอกรายละเอียดของภาพ เช่น อวัยวะต่างๆ ของคน ส่วนต่างๆ ของดอกไม้ เป็นต้น ตัวอย่าง แผนภูมิแสดงส่วนประกอบของพืชใบเลี้ยงคู่


ตัวอย่าง แผนภูมิแสดงส่วนประกอบของพืชใบเลี้ยงคู่








6. แผนภูมิแบบต้นไม้(Tree Charts) 
       ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเหมือนกับการแตกแขนงของกิ่งก้านของต้นไม้ โดยยึดหลักการแตกของกิ่งก้านเป็นหลัก หรือแนวเส้นของแผนภูมิ โดยจะแสดงให้เห็นว่า สิ่งหนึ่งสามารถจำแนกออกเป็นส่วนย่อยได้อีกหลายส่วน เปรียบเสมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งออกไป เช่น การคมนาคมมี ทางคือทางบก ทางน้ำ ทางอากาศเป็นต้น






แผนภูมิแสดงการคมนาคมแบ่งออกเป็น ทาง คือ  ทางอากาศ ทางน้ำและ ทางบก
ตัวอย่างแผนภูมิแบบต้นไม้






7. แผนภูมิแบบสายธารา( Stream Charts)
       ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเปรียบเหมือนกับการรวมตัวของลำธารน้ำกลายเป็นลำคลอง และแม่น้ำที่กว้างใหญ่ขึ้น โดยจะแสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งเกิดจากหลายสิ่งรวมกัน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้ เช่น คอมพิวเตอร์เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ชิพ เมนบอร์ด จอภาพ ขนมปังเกิดจาก แป้ง ยีสต์ น้ำตาล เป็นต้น

แผนภูมิแสดงส่วนประกอบของขนมปังเกิดจากแป้ง ไข่ไก่ ยีสต์ และน้ำตาล
ตัวอย่างแผนภูมิแบบสายธาร








8. แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
Comparison Charts)
      เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของสองสิ่งทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ขนาด แนวความคิด ของสิ่งต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบการแต่งกายในสมัยต่างๆ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับใบเลี้ยงคู่   เป็นต้น

แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
ความแตกต่างระหว่างอเมริกันฟุตบอลกับรักบี้

ตัวอย่างแผนภูมิแบบเปรียบเทียบ







9. แผนภูมิแบบองค์การ  ( Organization Charts)
      เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของสายงานในหน่วยงานหรือองค์การ นิยมใช้เส้นโยงความสัมพันธ์ ของหน่วยงานย่อย ที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงและใช้เส้นประ หรือเส้นจุดไข่ปลา แสดง ความสัมพันธ์ของหน่วยงานย่อยที่ เกี่ยวข้องกันโดยอ้อม เช่น แผนภูมิแสดงสายงานการบริหารโรงเรียน เป็นต้น


ตัวอย่างแผนภูมิแบบองค์การ






10. แผนภูมิแบบต่อเนื่อง( Flow Charts)
      ใช้แสดงเรื่องราว กิจกรรม การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับต่อเนื่อง ตลอดจนการแสดง วงจรชีวิตที่เป็นลำดับต่อเนื่อง เช่น วงจรชีวิตของผีเสื้อ

ตัวอย่างแผนภูมิแสดงวงจรชีวิตของผีเสื้อ






11. แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ  ( Developmental Charts)
แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ แต่ไม่ย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีก

                    ตัวอย่างแผนภูมิแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพ
                           ตัวอย่างแผนภูมิแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพ





12. แผนภูมิแบบขยายส่วน  Enlarging Chartsz)

     เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงให้เห็นลายละเอียดของส่วนเล็กๆ   ขยายให้ใหญ่ขึ้นเน้นส่วนที่ต้องการ ให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยขยายเฉพาะบางส่วน เท่านั้น

                                                     ตัวอย่างแผนภูมิแบบขยายส่วน






































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น